Welcome to our website, we have over 18 years of experience in ISO Consultant.
  • หน้าแรก

  • KM

  • ประเมินคาร์บอนตามมาตรฐาน ISO14064 เพื่อธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

ประเมินคาร์บอนตามมาตรฐาน ISO14064 เพื่อธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

  • หน้าแรก

  • KM

  • ประเมินคาร์บอนตามมาตรฐาน ISO14064 เพื่อธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

ประเมินคาร์บอนตามมาตรฐาน ISO14064 เพื่อธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

วิธีประเมินคาร์บอนตามมาตรฐาน ISO 14064

1) การระบุแหล่งปล่อยและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก
องค์กรต้องระบุแหล่งปล่อยและแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยตรงจากกิจกรรมต่างๆ ภายในขอบเขตขององค์กร

2) การคัดเลือกวิธีการคํานวณ
องค์กรต้องคัดเลือกและใช้วิธีการคํานวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่ทําให้ได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างถูกต้อง ไม่ขัดแย้งกัน และช่วยลดความไม่แน่นอนอย่างสมเหตุสมผล โดยองค์กรสามารถเลือกวิธีการใดก็ได้แต่ต้องมีเหตุผลประกอบ และต้องแสดงคําอธิบายหากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคํานวณที่เคยใช้มาก่อน

     2.1) จากการตรวจวัด

             ทําการตรวจวัดปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกโดยตรง ณ แหล่งปล่อยหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องหรือเว้นช่วงเป็นระยะ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การตรวจวัดที่ได้มาตรฐาน ตามวิธีการตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะทําให้ได้ข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่มีความถูกต้องสูง

     2.2) จากการคํานวณ
               การหาปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการคํานวณสามารถทําได้หลายวิธี เช่น การสร้างโมเดล หรือการทําสมการมวลสารสมดุล หรือการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ facility-specific หรือการคํานวณโดยใช้ข้อมูลกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร คูณกับค่าแฟกเตอร์การปล่อย หรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และแสดงผลให้อยู่ในรูปของตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)

      2.3) จากการตรวจวัดร่วมกับการคํานวณ
              องค์กรสามารถหาปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกด้วยวิธีการตรวจวัดร่วมกับการคํานวณได้ตัวอย่างเช่น การนําข้อมูลปริมาณการใช้เชื้อเพลิงที่จัดเก็บ และข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ซึ่งได้จากการตรวจวัด มาทําการคํานวณปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้โดยอาศัยสมการมวลสารสมดุล เป็นต้น

3) การคัดเลือกและเก็บข้อมูลกิจกรรมการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจก (Activity data)
หากมีการใช้ข้อมูลกิจกรรมประกอบการคํานวณ ต้องมีการคัดเลือกและเก็บข้อมูลกิจกรรมการปล่อยและดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ขัดแย้งกับวิธีการคํานวณที่ได้เลือกไว้ทั้งนี้ข้อมูลทั้งหมดควรได้รับการบันทึกไว้ในรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับใช้วิเคราะห์และทวนสอบได้อีกอย่างน้อย 2 ปี

4) การคัดเลือกหรือพัฒนาค่าแฟกเตอร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Factors) หรือค่าแฟกเตอร์การดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (GHG Removal Factors)

หากมีการใช้ข้อมูลกิจกรรมประกอบการคํานวณ องค์กรต้องคัดเลือกหรือพัฒนาค่าแฟกเตอร์การปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ที่ซึ่ง 

  • ทราบแหล่งที่มา
  • เหมาะสมใช้กับแหล่งปล่อยหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกแต่ละแหล่ง
  • เป็นค่าปัจจุบันในขณะที่ใช้คํานวณ
  • คํานึงถึงความไม่แน่นอนในการคํานวณ และนํามาใช้คํานวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
  • ไม่ขัดแย้งกับความตั้งใจในการใช้งานบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก

5) การคํานวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
เมื่อทราบกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก วิธีการคำนวณ ปริมาณก๊าซฯที่ถูกปล่อยออกมา รวมถึงมีแหล่งในการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ก็สามารถนำมาจัดทำเป็น องค์ประกอบของบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย

  5.1) การคํานวณหาปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดําเนินงานต่างๆ ภายในองค์กร (carbon source) สามารถแสดงเป็นตัวอย่างแยกตามลักษณะของกิจกรรม

  5.2) กิจกรรมขององค์กรที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (carbon sink)  

 



 31
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์